ขั้นตอนการใส่รากฟันเทียม การประเมินและวางแผนการรักษา: ตรวจภายในช่องปาก สแกนฟัน หรือพิมพ์ปาก ถ่ายภาพ x-ray และ CT Scan เพื่อประเมินกระดูกบริเวณที่จะฝังรากฟัน และทำการวางแผนการรักษา การผ่าตัดฝังรากฟันเทียม: ทำการฝังรากเทียมลงในกระดูกขากรรไกร อาจจำเป็นต้องมีการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อเหงือก (Soft tissue grafting) และการปลูกถ่ายกระดูก (Bone Grafting)เพิ่มเติม ซึ่งจำเป็นในกรณีที่กระดูกขากรรไกรบางหรือมีปริมาตรไม่เพียงพอ การรอให้รากฟันเทียมยึดกับกระดูก: หลังจากฝังรากเทียมในรอกระดูกแล้วจะต้องรอให้กระดูกยึดกับรากเทียม ใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน หากมีการปลูกถ่ายกระดูกอาจใช้เวลานานขึ้นกับความซับซ้อน ในระหว่างนี้อาจใส่ฟันปลอมชั่วคราวขึ้นกับดุลพินิจของทันตแพทย์และความต้องการของผู้ป่วย การติดตั้งแกนเชื่อมต่อและฟันปลอม หลังจากกระดูกเชื่อมติดกับรากเทียมดีแล้ว ทันตแพทย์จะติดตั้งแกนเชื่อมต่อและฟันปลอมบนรากฟันเทียม โดยใช้วัสดุสีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ สามารถใช้บดเคี้ยวอาหาร และสามารถยิ้มได้อย่างมั่นใจ เทคโนโลยีรากฟันเทียมในปัจจุบัน ปัจจุบันรากฟันเทียมได้รับการพัฒนาทั้งในด้านวัสดุ กระบวนการรักษา และเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ปลอดภัยและรวดเร็วมากขึ้น หนึ่งในความก้าวหน้าสำคัญคือการใช้ เทคโนโลยี 3D ในการวางแผนการรักษา เช่น การสแกน 3 มิติ (3D Scanning) และการถ่ายภาพเอกซเรย์ 3 มิติ (CBCT) เพื่อประเมินโครงสร้างกระดูกขากรรไกร […]
รากฟันเทียมยังมีข้อได้เปรียบเหนือสะพานฟัน (Dental Bridge) เนื่องจากไม่จำเป็นต้องกรอฟันธรรมชาติที่อยู่ข้างเคียง
เหมาะสม: ผู้ที่อายุมากกว่า 18 ปีและมีกระดูกขากรรไกรเพียงพอ
ไม่เหมาะสม: